ชีวิตในมหาวิทยาลัยญี่ปุ่นผ่าน 10 คำศัพท์น่ารู้
エル
"ชีวิตในมหาวิทยาลัยญี่ปุ่นผ่าน 10 คำศัพท์น่ารู้"

ชีวิตมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น นอกจากจะเป็นการเรียนรู้สายอาชีพที่ต้องการทำในอนาคตแล้วยังเป็นการเข้าสู่สังคมใหม่ ๆ อีกด้วย มีคำศัพท์มากมายที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมเต็มไปหมดเลยค่ะ วันนี้แอดมินขอมาแนะนำชีวิตในมหาวิทยาลัยญี่ปุ่นผ่าน 10 คำศัพท์น่ารู้ในมหาลัยกันค่ะ !!

① サークル (saakuru : เซอร์เคิล) 、部活 (bukatsu : ชมรม)
นอกเวลาเรียน มักจะมีกลุ่มเด็กมหาลัยมาร่วมทำกิจกรรมร่วมกันตามความสนใจ เช่น เล่นกีฬา ดนตรี ศิลปะ หรือกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย โดยจะแบ่งได้เป็น ชมรม และ เซอร์เคิล ซึ่งแตกต่างกันที่ความจริงจังของการทำกิจกรรมนั้นๆ โดยชมรมจะเป็นกลุ่มกิจกรรมทางการของมหาวิทยาลัย ทำให้มักจะมีความเอาจริงเอาจังมากกว่า โดยอาจจะมีวันที่บังคับให้ร่วมกิจกรรม หรือจำนวนวัน / ชั่วโมงขั้นต่ำที่ให้เข้าในสัปดาห์ และ มีการแข่งขันระหว่างมหาลัย ส่วนเซอร์เคิลจะมีความเป็นกันเองมากกว่า ในกิจกรรมเดียวกัน อาจจะมีหลายเซอร์เคิลได้ใน 1 มหาลัย โดยเด็กเข้าใหม่สามารถเลือกเซอร์เคิลได้ผ่านการไป 新歓コンパ(shinkan-konpa : ปาร์ตี้ต้อนรับเด็กใหม่) (อ้างอิงข้อ ②) ของแต่ละเซอร์เคิล

② 新歓コンパ (shinkan-konpa : ปาร์ตี้ต้อนรับเด็กใหม่)
ย่อมาจากคำว่า 新入生歓迎コンパ(shinnyuusei-kangei-konpa)) โดยเป็นกิจกรรมต้อนรับน้องปี1ในช่วงเปิดเทอมใหม่ (เมษายน-พฤษภาคม) โดยมักจะจัดในชมรมหรือเซอร์เคิลต่างๆ

③ 現役(gen-eki : นักเรียนที่สอบเข้ามหาลัยผ่านในปีแรก)、浪人(rounin : นักเรียนที่มีปีว่างหลังจากจบมหาวิทยาลัยเพื่อสอบเข้ามหาลัย) การเข้ามหาลัยของญี่ปุ่นใช้ระบบการสอบเข้าและเลือกมหาลัยตามลำดับคะแนน ทำให้นักเรียนคนญี่ปุ่นจะมีการสอบเข้ามหาลัยซ้ำในปีต่อๆมาด้วยเหตุผลที่หลากหลาย บ้างอาจจะเป็นเพราะไม่พอใจในมหาลัยที่ได้ในปีปัจจุบัน ต้องการเปลี่ยนคณะ หรือเหตุผลอื่นๆ โดยจะมีคำเรียกสำหรับคนที่เข้ามหาลัยตั้งแต่ปีแรกที่สอบเข้าว่า現役(genyaku) ส่วนคนที่สอบใหม่ว่า浪人(rounin) โดยจะมีชื่อเรียกโดยละเอียดตามจำนวนปีที่ใช้เช่น 一浪(ichirou : ซ้ำ 1 ปี) 二浪(nirou : ซ้ำ 2 ปี) เป็นต้น

④ 履修登録 (rishuutouroku : ลงทะเบียนเรียน)
ในมหาวิทยาลัย นักเรียนจะต้องจัดสรรตารางเรียนของตนเอง และลงทะเบียนเรียนก่อนเริ่มเทอมใหม่ โดยต้องเช็คให้แต่ละวิชาที่ลงทะเบียนไม่ชนเวลากัน และลงให้ครบหน่วยกิตที่ต้องลงก่อนเรียนจบ หากมีวิชาที่ตกเทอมก่อนหน้า จะต้องมาลงเก็บใหม่(再履 : sairi : ลงทะเบียนเรียนซ้ำ)ในเทอมต่อๆไป โดยการเลือกลงวิชาเรียนนั้นสามารถดูได้จาก シラバス (shirabasu : หลักสูตรการเรียน) โดยอาจารย์จะแจ้งในตารางดังกล่าวว่าวิชานั้นๆจะเรียนอะไรใรวันที่เท่าไหร่บ้างโดยละเอียด รวมถึงรายละเอียดหนังสือและเอกสารของวิชานั้นๆ


⑤ ゼミ (zemi : วิชาสัมมนา)
ย่อมาจากคำว่าゼミナール(seminaaru) หรือ seminar(สัมมนา) ในภาษาอังกฤษ คือวิชาเรียนที่เน้นการค้นคว้าหรือวิจัยตามธีมหัวข้อที่อาจารย์ประจำวิชากำหนดไว้ โดยนักเรียนในคาบจะมีปริมาณไม่มาก

⑥ 単位 (tan-i : หน่วยกิต)
จำนวนตัวเลขที่บอกปริมาณการศึกษาของแต่ละวิชา โดยในแต่ละวิชาจะมีจำนวนหน่วยกิตที่มากน้อยแตกต่างกันไป โดยมหาลัยส่วนมากจะมีปริมาณหน่วยกิตเป็นเกณฑ์ในการจบการศึกษา เมื่อลงวิชาเรียนแล้ว หากคะแนนไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดอาจจะทำให้ไม่ได้หน่วยกิตวิชานั้นในเทอมนั้นๆ (単位を落とす(tan-i wo otosu) / 落単:rakutan) อย่างไรก็ตาม หากในเทอมนั้นๆไม่มีวิชาไหนที่ตกเลย หรือได้หน่วยกิตครบ จะเรียกว่า フル単(full-tan: ได้หน่วยกิตครบ) อย่างไรก็ตาม หากวิชานั้นๆมีโอกาสตกน้อยมากๆ หรือมีโอกาสได้หน่วยกิตเยอะมากๆ จะเรียกว่า 楽単(raku-tan : หน่วยกิตที่ได้มาง่ายๆ)

⑦ 必修科目(hisshu-kamoku : วิชาบังคับ)
วิชาที่จำเป็นต้องลงเพื่อการเรียนจบ โดยมีความแตกต่างกันตามคณะ หากตกวิชานี้จะต้องลงซ้ำ(再履 : sairi) จนกว่าจะผ่าน(อ้างอิงข้อ ④)

⑧ 留年 (ryuu-nen : เรียนซ้ำชั้น)
การซ้ำชั้นอาจจะเกิดขึ้นได้หากจำนวนหน่วยคิดไม่ครบทำให้ไม่สามารถเรียนจบได้ใน 4 ปี หรือสอบตกในวิชาบังคับที่ทำให้ยังไม่สามารถเลื่อนไปชั้นปีต่อไปได้จนกว่าจะเรียนใหม่สำเร็จ

⑨ 5月病 ( gogatsu-byou : โรคเดือน5 )
โรคที่เกิดขึ้นบ่อยในเด็กปี 1 ที่เข้ามหาวิทยาลัยใหม่ๆ โดยนักเรียนผ่านทั้งความเครียดจากการสอบเข้ามหาลัยเป็นเวลานาน มาในเดือน 4 ก็มีกิจกรรมมากมายทั้งพิธีปฐมนิเทศ ปาร์ตี้ต้อนรับเด็กใหม่ หลังจากผ่านต้นเดือน5ที่มีช่วงพักโกลเด้นวีคยาวกว่า 1 สัปดาห์หลังกลับมาก็จะรู้สึกไม่อยากทำอะไรขึ้นมาดื้อๆ เรียกง่ายๆว่าโรคขี้เกียจนั่นเอง

⑩ 奨学金 ( shougaku-kin : ทุนการศึกษา )
ทุนการศึกษาจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของทุนและผู้ให้ โดยจะมีทั้งแบบที่ต้องจ่ายคืน (ทั้งมีดอกเบี้ยและไม่มีดอกเบี้ย) และแบบที่ไม่ต้องจ่ายคืน โดยมีกฏการให้ที่แตกต่างกันไป เช่น ตามผลการเรียนหรือสภาพทางการเงินเป็นต้น

  • 1 WoW